บทความการวิจัยในชั้นเรียน




การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) จาก http://www.chontech.ac.th/ Post by ฐานิกา บุษมงคล ความหมายของการวิจัย การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบคำถาม หรือปัญหาที่มีอยู่อย่างเป็นระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบแบบและแผนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (สภาวิจัยแห่งชาติ วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20) การวิจัย หมายถึง การแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผน เชื่อถือได้ (พจน์ สะเพียรชัย วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20) การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความจริงหรือพิสูจน์ความจริง เพื่อให้ได้มาซึ่ง ความรู้ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ โดยกระบวนการทีใช้เพื่อการแสวงหาความจริงมีลักษณะสำคัญดังนี้ (เครือวัลย์ ลิ้มปิยะศรีกุล. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20) 1. ต้องเป็นการแสวงหาหรือพิสูจน์ความจริงที่เป็นข้อเท็จจริง 2. ต้องเป็นการกระทำที่มีความมุ่งหมายอย่างแน่นอน ดังนั้นการค้นพบโดยบังเอิญ จึงไม่เป็นการวิจัย 3. ต้องดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอนตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตามสมมุติฐาน ที่นิรนัยจากทฤษฎี โดยใช้ระเบียบการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบ มีการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ มีการควบคุม และมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อนำไปสู่คำตอบของปัญหาการวิจัย และผลการวิจัยที่ได้ความรู้ใหม่ หรือเป็นผลของการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ(นงลักษณ์ วิรัชชัย. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20) การวิจัย หมายถึง กระบวนการในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริง (Reliable Knowledge) เพื่อที่จะนำความรู้ความจริงที่ได้มาช่วยในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ (Karl F. Schuessler วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20) ความหมาย การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน กระบวนการที่ครูค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนที่ตนรับผิดชอบ เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยในชั้นเรียนที่ค้นพบนี้ ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่นได้ ขอบเขตการวิจัยในชั้นเรียน ขอบเขตการวิจัยในชั้นเรียนให้ความสำคัญกับการคิดค้นกระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1. สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ 2. กิจกรรมพัฒนาหรือเทคนิคการสอน การวิจัยปฏิบัติการ ครูเป็นผู้วิจัยปัญหาในห้องเรียนที่ทำให้ผลการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามความคาดหวัง หรือที่ควรจะเป็นและดำเนินการค้นคว้าหาวิธีการแก้ไข เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาจนปรากฏผลในทางที่ดีตามาตรฐานที่ตั้งไว้ ไม่เน้นเรื่องระเบียบวิธีวิจัยที่ยุ่งยาก แต่ให้ความสำคัญที่การค้นหาปัญหาได้ตรงสภาพที่เกิดขึ้นจริง และการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยแผ่นเดียว คือการวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัยคือครูผู้สอนที่มุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ สติปัญญา มีจิตใจเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และทักษะในการปฏิบัติงานต่าง ๆ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน โดยมีกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง คือ 1. การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม 2. การวางแผนดำเนินงาน 3. การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ 4. การสังเกตผลที่เกิดขึ้น 5. การสะท้อนผลหลังจากปฏิบัติตามแผนที่ปรับแล้ว สังเกต สะท้อนผล เป็นวงจรไปเรื่อย ๆ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยผู้วิจัยคือครูผู้สอน องค์ประกอบของการวิจัย 1. สิ่งที่ถูกวิจัย (ปฏิบัติการทางการศึกษา 2. ผู้วิจัย คือครู หรือผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.1 การพัฒนาการเรียนการสอน 3.2 การแก้ปัญหาการเรียนการสอน 4. วิธีการวิจัย กระบวนการค้นหาความรู้ที่มีขั้นตอน คือมีการวิจัยและปฏิบัติการ หลักการและแนวคิด 1. เป็นการศึกษาและค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน 2. เป็นการหาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร 3. เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน ประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียน 1. เป้าหมาย ได้องค์ความรู้ที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขงานที่ปฏิบัติอยู่ 2. วิธีการกำหนดประเด็นปัญหาหรือคำถามวิจัย ประเด็นปัญหาปัจจุบันที่ค้นพบ 3. วิธีการตรวจสอบเอกสาร ไม่เน้นการตรวจสอบเอกสารมากนัก ให้ใช้ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ 4. การสุ่มตัวอย่าง ไม่เน้นการสุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ศึกษาคือนักเรียน 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่เน้นการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ มีการนำเสนอข้อมูลดิบ 6. การนำผลไปใช้ เน้นความสำคัญที่เป็นผลจากการปฏิบัติ วัตถุประสงค์ของการวิจัยในชั้นเรียน 1. เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน 3. เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรหรือนวัตกรรม 4. เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงเทคนิคการวัดผลประเมินผล 5. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครุ อาจารย์ 6. เพื่อพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน 1. เป็นงานวิจัยที่มุ่งหารูปแบบเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ 2. เป็นงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตัวผู้เรียนและประสิทธิภาพของครูผู้สอน 3. เป็นงานวิจัยที่มุ่งศึกษาสำรวจสภาพที่ปรากฏตามความต้องการ ความคิดเห็น และความสนใจของบุคคลในห้องเรียน รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน 1. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการ หรือรูปแบบเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน มุ่งศึกษา 1.1 การปรับเปลี่ยนและพัฒนาวิธีการสอน 1.2 ทดลองสอนด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ 1.3 ค้นหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียน 1.4 การสร้างแบบฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน 1.5 เทคนิคการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ 1.6 หาแนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน 2. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเรียนการสอน การวิจัยด้านนี้มุ่งศึกษา 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน 1.2 ความรู้เดิมกับการพัฒนาของผู้เรียน 1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนของผู้เรียน 1.4 การวิเคราะห์หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ 1.5 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการวัดผลประเมินผล 1.6 บรรยากาศในห้องเรียนกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน 3. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ และรูปแบบของหลักสูตร การวิจัยด้านนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับ 1.1 การประเมินหลักสูตร 1.2 การติดตามการใช้หลักสูตร 1.3 การพัฒนาหลักสูตร 1.4 การพัฒนาเทคนิคการวัดผลประเมินผล 1.5 การวิเคราะห์ความเหมาะสมของรายวิชาต่าง 4. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยด้านนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับ 1.1 การประเมิน ติดตามการใช้แผนการสอน 1.2 การทดลองใช้วิธีการสอนหรือชุดการสอน 1.3 การสร้างสื่อ แบบฝึก ชุดการสอน ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน 1. การศึกษาสภาพปัญหาที่ต้องการศึกษา 2. การกำหนดปัญหาวิจัย 3. ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. การรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล 6. การเขียนรายงานการวิจัย หรือทำการเผยแพร่ การเขียนรายงานการวิจัย 1. ชื่อเรื่อง หรือประเด็นที่ทำการวิจัย 2. ที่มาของปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา 3. เป้าหมายของการวิจัย 4. วิธีการหรือขั้นตอนสำคัญของการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา 5. ผลของการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา 6. ข้อเสนอแนะ ประโยชน์ของการวิจัยแบบง่าย 1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีระบบน่าเชื่อถือ 2. ครูมีทักษะการวิจัยและเป็นพื้นฐานสู่การวิจัยชั้นสูงหรือเป็นนักวิจัยต่อไป 3. ครูมีผลงานวิชาการที่ชัดเจน ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนางาน และพัฒนาวิชาชีพ 4. ครูมีระบบและวิธีการทำงานอย่างครูมืออาชีพ 5.ส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาที่เชื่อมั่นได้ การวิจัยชั้นเรียน (Class Room Research) ชื่อเรื่อง 1. การแก้ปัญหา...................วิชา/ เรื่อง...................ชั้น...................... 2. การพัฒนา........................วิชา/ เรื่อง...................ชั้น...................... (ถ้ามุ่งแก้ปัญหา ชื่อเรื่องตั้งเหมือนข้อ 1 ถ้าเป็นการพัฒนา ชื่อเรื่องตั้งชื่อเหมือนข้อ 2) ที่มาของปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา (ย่อหน้าแรก)..หลักการ วิชาการ................................................. (ย่อหน้าที่สอง)..สภาพปัจจุบัน......................................................... (ย่อหน้าที่สาม)..ปัญหา.................................................. (ย่อหน้าที่สี่)..ผู้วิจัยในฐานะครู................................................... ความมุ่งหมายของการวิจัย (เขียน 1 ข้อ ก็พอ) วิจัยแก้ปัญหา “เพื่อแก้ปัญหา.......................(พัฒนาอะไร ดูชื่อเรื่องประกอบ).............................................. วิจัยพัฒนา “เพื่อพัฒนา..........................(พัฒนาอะไร ดูชื่อเรื่องประกอบ)............................................... ความสำคัญของการวิจัยแก้ปัญหา 1. เป็นการปัญหา.......................(พัฒนาอะไร ดูชื่อเรื่องประกอบ).......................... 2. เป็นข้อสนเทศ ของ ศบอ...................................................................................... ความสำคัญของการวิจัยพัฒนา 1. เป็นการพัฒนา.......................(พัฒนาอะไร ดูชื่อเรื่องประกอบ).......................... 2. เป็นข้อสนเทศ...................................................................................................... ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่วันที่........................................ถึงวันที่................... ครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่........................................ถึงวันที่.................................... ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่........................................ถึงวันที่......................................... วิธีดำเนินการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา......................... ซึ่งผู้วิจัยได้แก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอน ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 2. วิธีการวิจัย ได้แก่ 1. ขั้นวางแผน 1.1 ศึกษาสภาพปัจจุบันว่า สภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร................................................. 1.2 สำรวจสภาพปัญหาว่า ปัญหาคืออะไร..........ปัญหาเป็นอย่างไร........................ 1.3 จัดทำแผนว่า ช่วงไหน จะทำกิจกรรมอะไร ...............……………………… 1.4 จัดทำต้นแบบ กระบวนการ กิจกรรม 1.5 เครื่องมือวิจัย - แบบทดสอบ - แบบสัมภาษณ์ - แบบสังเกต - แบบบันทึก 2. ขั้นปฏิบัติ เป็นการนำกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้ในข้อ 1.3 มาลงมือปฏิบัติ 3. ขั้นสังเกต - บันทึกการแปลงแปลงหรือผลที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติ - จดบันทึกสิ่งที่คาดหวังหรือสิ่งที่ไม่คาดหวัง - รวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติ โดยแบบสัมภาษณ์ สังเกต บันทึก สอบถาม - บันทึกพฤติกรรมจากแบบการสังเกตพฤติกรรม 4. สะท้อนผล - ตรวจสอบปัญหา อุปสรรค - ถกแถลง อภิปราย เพื่อประเมินให้ได้แนวทางแก้ปัญหา แนวทางพัฒนา สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ ผลของการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา สรุปสั้น ๆ ด้วยข้อความที่กระชับ เรียงลำดับ ดังนี้ 1. สรุปวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินการ................................................................ 2. สรุปผลการดำเนินการ..................................................................................... 3. อภิปราย....................................................................... อภิปรายประเด็นที่น่าสังเกต ความโดดเด่น หรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดคิด ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี).....................................................................................








วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง